ระบบไฟส่องสว่าง Lighting System

1. งานไฟฟ้าแสงสว่างกับความปลอดภัยทางถนน

การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนในเวลากลางคืน ไฟฟ้าแสงสว่างทําให้ผู้ขับขี่มีทัศนะวิสัยในการมองเห็นที่ชัดเจนมากขึ้น หรือเทียบเท่ากับในเวลากลางวัน และทําให้ผู้ขับขี่สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่สําคัญต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ ความต้องการไฟฟ้าแสงสว่างของถนนในแต่ละบริเวณจะแตกตางกันไป ตามลักษณะทางกายภาพของถนน สภาพการจราจร และสภาพแวดล้อมของถนนในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของข้อมูลข่าวสารที่ผู้ขับขี่ต้องรับรู้ด้วยการมองเห็นด้วย นอกจากนี้ ในบางกรณียังสามารถใช้อุปกรณ์อํานวยความปลอดภัยอื่นๆ มาทดแทนไฟฟ้าแสงสว่างได้ ซึ่งมีราคาถูกกว่าและมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน เช่น เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง ปุ่มสะท้อนแสง หลักนําทาง เป้าสะท้อนแสง และไฟกระพริบ เป็นต้น การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณทางแยก ทางร่วม ทางโค้ง และบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางเดินรถ แสงสว่างจะช่วยให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น และไฟฟ้าแสงสว่างยังมีประโยชน์ด้านความปลอดภัยมากในพื้นที่เขตชุมชน หรือในเมือง เพราะไม่เพียงแต่จะทําให้ผู้ใช้ทางมีความปลอดภัยด้านการจราจรเท่านั้น แสงสว่างยังช่วยป้องกันอาชญากรรมให้กับคนเดินเท้าได้อีกด้วย การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างจะมีประโยชน์อย่างสมบูรณ์ได้ ถ้ามีการใช้มาตรฐานที่ถูกต้องและจุดที่ติดตั้งไม่ก่อให้เกิดอันตราย

1.1 วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์หลักของการสองสว่างถนนเวลากลางคืน คือ การช่วยให้มีความสามารถในการมองเห็นที่รวดเร็ว ถูกต้องแน่นอน และสะดวกสบาย ผู้ออกแบบต้องออกแบบให้ระบบส่องสว่างของโคมไฟถนนมีคุณภาพเหมาะสมต่อผู้ใช้รถใช้ถนน โดยคํานึงถึงประโยชน์ของการส่องสว่าง ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้

(1) เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสัญจรได้อย่างปลอดภัยและคล่องตัว

(2) ช่วยป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุ บริเวณที่เกิดบ่อยในช่วงกลางคืน

(3) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปรากฏแก่สายตาในเวลากลางคืนให้ดียิ่งขึ้น

(4) เพื่อช่วยป้องกันและลดอาชญากรรมให้ประชาชนที่สัญจร และเดินเท้าเกิดความปลอดภัย

1.2 หน้าที่ของไฟฟ้าแสงสว่าง

ความสามารถในการมองเห็นที่น้อยลงในเวลากลางคืนทําให้มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักของการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง คือ เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถควบคุมยานพาหนะในกระบวนการขับรถได้ โดยกระบวนการนี้แยกออกได้เป็น 3 ประการ คือ

1.2.1 การควบคุมรถ (Control) อันได้แก่ การบังคับเลี้ยวและใช้ความเร็วที่เหมาะสม ข้อมูลที่ผู้ขับขี่ต้องการคือ ตําแหน่งของรถ และสิ่งที่ต้องการมองเห็น ได้แก่ ลักษณะเรขาคณิตของเส้นทาง การจัดช่องจราจร เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง สภาพขางทาง และวัตถุถาวรข้างทาง สันขอบทาง ยานพาหนะอื่นๆ ในถนน ขอบทางเดินรถ และเครื่องหมายนําทาง

1.2.2 การนําทาง (Guidance) การนําทาง หมายถึง ผู้ขับขี่จะต้องรักษาตําแหน่งของรถที่ตนเองควบคุมอยู่ให้วิ่งไปตามทางอย่างปลอดภัย ผู้ขับขี่จะต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจราจร การเปลี่ยนแปลงความเร็ว ทิศทาง และระยะห่างด้านข้างกับยานพาหนะคันอื่นๆ สิ่งที่ต้องการมองเห็น ได้แก่ ลักษณะทางเรขาคณิตของเส้นทาง ทางแยก การจัดช่องจราจร เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง สภาพข้างทางและวัตถุถาวรข้างทาง สันขอบทางคนเดินเท้า ยานพาหนะคันอื่นๆ ป้ายจราจร สัญญาณไฟจราจร เครื่องหมายนําทางวัตถุกลางทางและสภาพของถนน

1.2.3 การนําร่อง (Navigation) การนําร่อง หมายถึง ผูขับขี่ต้องวางแผนการเดินทางเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ คือ เส้นทางที่จะสามารถเดินต่อไปจนถึงจุดหมาย สิ่งที่ต้องมองเห็น คือ ทางแยก ข้างทางและวัตถุถาวรข้างทาง และป้ายแนะนํา

เมื่อพิจารณาความต้องการข้อมูลข่าวสารของผู้ขับขี่ในกระบวนการขับรถทั้ง 3 กระบวนการแล้ว การออกแบบไฟฟ้าแสงสว่างต้องเหมาะสมในด้านความสว่าง ความสม่ํ่าเสมอของแสง การป้องกันแสงบาดตาและอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ไม่มีความจําเป็นที่ต้องติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบนถนนทุกสาย เพราะพลังงานมีจํากัด สิ่งที่สามารถทดแทนได้ เช่น การใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติการสะท้อนแสงบนป้ายจราจร เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง เครื่องหมายนําทาง และการติดตั้งเป้าสะท้อนแสงบนราวกันอันตราย การพิจารณาว่าถนนช่วงใดมีความเหมาะสมในการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง จึงเป็นสิ่งที่ต้องทําการพิจารณาในรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน

1.3 เหตุอันควรในการพิจารณาติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง

การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างมีอยู่ 2 แบบ คือ การติดตั้งในลักษณะต่อเนื่อง (Continuous Lighting) ได้แก่ การติดตั้งบนช่วงของถนนในลักษณะต่อเนื่องยาวตามแนวถนน และการติดตั้งเฉพาะบริเวณ (Specific Lighting) ได้แก่ การติดตั้งเฉพาะพื้นที่บริเวณ เช่น ทางแยก สะพาน บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยช่วงกลางคืน การพิจารณาติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างจากค่าปริมาณจราจรที่ผ่านบนสายทางนั้นโดยใช้ค่าเฉลี่ย ปริมาณจราจรของทั้งปีเฉลี่ยต่อวัน (AADT) แต่โดยทั่วไปแล้วให้ติดตั้งเมื่อมีค่า AADT ตั้งแต่ 5,000 – 15,000 คัน/วันขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นกับข้อจํากัด และปัจจัยต่างๆ กันของถนนในแต่ละท้องที่ ข้อพิจารณาอื่นๆ อาจจะประกอบด้วย

1.3.1 เหตุอันควรในการพิจารณาติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างลักษณะต่อเนื่อง

(1) ปริมาณจราจรของทั้งปีเฉลี่ยต่อวัน (AADT) ตั้งแต่ 5,000-15,000 คัน/วันขึ้นไป

(2) มีปริมาณคนเดินข้ามทางและข้างทางในเวลากลางคืนสูง

(3) มีความสับสนของการจราจร

(4) พื้นที่ใกล้เคียงมีแสงสว่างจ้ามาก รบกวนต่อการมองเห็น

1.3.2 เหตุอันควรในการพิจารณาติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างลักษณะเฉพาะบริเวณ

(1) มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในเวลากลางคืนต่อกลางวันเป็น 1.3 : 1

(2) เขตชุมชนหรือบริเวณที่มีคนใช้ข้างทางเวลากลางคืนสูง

(3) การจราจรสับสนในการเข้าช่องจราจรหรือเลี้ยวที่บริเวณทางแยก

(4) ทางแยกที่ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรอยู่แล้ว

(5) บริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางทันทีทันใด ระยะการมองเห็นไม่เพียงพอ

(6) ทางโค้งรัศมีแคบ หรือมีความลาดชันมาก

(7) สะพานที่โค้ง และทางแยกต่างระดับ

2. ไฟฟ้าสาธารณะ

ไฟฟ้าสาธารณะหมายถึง การติดตั้งโคมไฟฟ้าแสงสว่างระบบต่ำ 220 โวลต์ (1 เฟส) และ 380 – 400 โวลต์ (3 เฟส) บริเวณแนวถนนสายหลัก แนวสายรอง ทางแยก วงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร สะพาน สะพานลอยคนข้าม ทางเดินเท้า (ฟุตบาท) ทางม้าลาย สวนสาธารณะ ตลาด สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ สาธารณะ ลานกีฬาชุมชน ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง และป้ายจอดรถประจำทาง (ไม่มีศาลา)

     – ถนนสายหลัก หมายถึง ถนนสายหลักของท้องถิ่น เช่น ถนนที่ต่อเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดินถนนในเขตชุมชนหนาแน่น

       เป็นต้น

     – ถนนสายรอง หมายถึง ถนนต่อแยกจากถนนสายหลัก

     – ทางแยก หมายถึง บริเวณที่ถนนสองเส้นหรือมากกว่ามาเชื่อมต่อกัน

1. งานไฟฟ้าแสงสว่างกับความปลอดภัยทางถนน

การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนในเวลากลางคืน ไฟฟ้าแสงสว่างทําให้ผู้ขับขี่มีทัศนะวิสัยในการมองเห็นที่ชัดเจนมากขึ้น หรือเทียบเท่ากับในเวลากลางวัน และทําให้ผู้ขับขี่สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่สําคัญต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ ความต้องการไฟฟ้าแสงสว่างของถนนในแต่ละบริเวณจะแตกตางกันไป ตามลักษณะทางกายภาพของถนน สภาพการจราจร และสภาพแวดล้อมของถนนในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของข้อมูลข่าวสารที่ผู้ขับขี่ต้องรับรู้ด้วยการมองเห็นด้วย นอกจากนี้ ในบางกรณียังสามารถใช้อุปกรณ์อํานวยความปลอดภัยอื่นๆ มาทดแทนไฟฟ้าแสงสว่างได้ ซึ่งมีราคาถูกกว่าและมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน เช่น เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง ปุ่มสะท้อนแสง หลักนําทาง เป้าสะท้อนแสง และไฟกระพริบ เป็นต้น การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณทางแยก ทางร่วม ทางโค้ง และบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางเดินรถ แสงสว่างจะช่วยให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น และไฟฟ้าแสงสว่างยังมีประโยชน์ด้านความปลอดภัยมากในพื้นที่เขตชุมชน หรือในเมือง เพราะไม่เพียงแต่จะทําให้ผู้ใช้ทางมีความปลอดภัยด้านการจราจรเท่านั้น แสงสว่างยังช่วยป้องกันอาชญากรรมให้กับคนเดินเท้าได้อีกด้วย การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างจะมีประโยชน์อย่างสมบูรณ์ได้ ถ้ามีการใช้มาตรฐานที่ถูกต้องและจุดที่ติดตั้งไม่ก่อให้เกิดอันตราย

1.1 วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์หลักของการสองสว่างถนนเวลากลางคืน คือ การช่วยให้มีความสามารถในการมองเห็นที่รวดเร็ว ถูกต้องแน่นอน และสะดวกสบาย ผู้ออกแบบต้องออกแบบให้ระบบส่องสว่างของโคมไฟถนนมีคุณภาพเหมาะสมต่อผู้ใช้รถใช้ถนน โดยคํานึงถึงประโยชน์ของการส่องสว่าง ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้

(1) เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนสัญจรได้อย่างปลอดภัยและคล่องตัว

(2) ช่วยป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุ บริเวณที่เกิดบ่อยในช่วงกลางคืน

(3) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปรากฏแก่สายตาในเวลากลางคืนให้ดียิ่งขึ้น

(4) เพื่อช่วยป้องกันและลดอาชญากรรมให้ประชาชนที่สัญจร และเดินเท้าเกิดความปลอดภัย

1.2 หน้าที่ของไฟฟ้าแสงสว่าง

ความสามารถในการมองเห็นที่น้อยลงในเวลากลางคืนทําให้มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักของการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง คือ เพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถควบคุมยานพาหนะในกระบวนการขับรถได้ โดยกระบวนการนี้แยกออกได้เป็น 3 ประการ คือ

1.2.1 การควบคุมรถ (Control) อันได้แก่ การบังคับเลี้ยวและใช้ความเร็วที่เหมาะสม ข้อมูลที่ผู้ขับขี่ต้องการคือ ตําแหน่งของรถ และสิ่งที่ต้องการมองเห็น ได้แก่ ลักษณะเรขาคณิตของเส้นทาง การจัดช่องจราจร เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง สภาพขางทาง และวัตถุถาวรข้างทาง สันขอบทาง ยานพาหนะอื่นๆ ในถนน ขอบทางเดินรถ และเครื่องหมายนําทาง

1.2.2 การนําทาง (Guidance) การนําทาง หมายถึง ผู้ขับขี่จะต้องรักษาตําแหน่งของรถที่ตนเองควบคุมอยู่ให้วิ่งไปตามทางอย่างปลอดภัย ผู้ขับขี่จะต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจราจร การเปลี่ยนแปลงความเร็ว ทิศทาง และระยะห่างด้านข้างกับยานพาหนะคันอื่นๆ สิ่งที่ต้องการมองเห็น ได้แก่ ลักษณะทางเรขาคณิตของเส้นทาง ทางแยก การจัดช่องจราจร เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง สภาพข้างทางและวัตถุถาวรข้างทาง สันขอบทางคนเดินเท้า ยานพาหนะคันอื่นๆ ป้ายจราจร สัญญาณไฟจราจร เครื่องหมายนําทางวัตถุกลางทางและสภาพของถนน

1.2.3 การนําร่อง (Navigation) การนําร่อง หมายถึง ผูขับขี่ต้องวางแผนการเดินทางเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายที่ตั้งใจไว้ ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ คือ เส้นทางที่จะสามารถเดินต่อไปจนถึงจุดหมาย สิ่งที่ต้องมองเห็น คือ ทางแยก ข้างทางและวัตถุถาวรข้างทาง และป้ายแนะนํา

เมื่อพิจารณาความต้องการข้อมูลข่าวสารของผู้ขับขี่ในกระบวนการขับรถทั้ง 3 กระบวนการแล้ว การออกแบบไฟฟ้าแสงสว่างต้องเหมาะสมในด้านความสว่าง ความสม่ํ่าเสมอของแสง การป้องกันแสงบาดตาและอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ไม่มีความจําเป็นที่ต้องติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบนถนนทุกสาย เพราะพลังงานมีจํากัด สิ่งที่สามารถทดแทนได้ เช่น การใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติการสะท้อนแสงบนป้ายจราจร เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง เครื่องหมายนําทาง และการติดตั้งเป้าสะท้อนแสงบนราวกันอันตราย การพิจารณาว่าถนนช่วงใดมีความเหมาะสมในการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง จึงเป็นสิ่งที่ต้องทําการพิจารณาในรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน

1.3 เหตุอันควรในการพิจารณาติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง

การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างมีอยู่ 2 แบบ คือ การติดตั้งในลักษณะต่อเนื่อง (Continuous Lighting) ได้แก่ การติดตั้งบนช่วงของถนนในลักษณะต่อเนื่องยาวตามแนวถนน และการติดตั้งเฉพาะบริเวณ (Specific Lighting) ได้แก่ การติดตั้งเฉพาะพื้นที่บริเวณ เช่น ทางแยก สะพาน บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยช่วงกลางคืน การพิจารณาติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างจากค่าปริมาณจราจรที่ผ่านบนสายทางนั้นโดยใช้ค่าเฉลี่ย ปริมาณจราจรของทั้งปีเฉลี่ยต่อวัน (AADT) แต่โดยทั่วไปแล้วให้ติดตั้งเมื่อมีค่า AADT ตั้งแต่ 5,000 – 15,000 คัน/วันขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นกับข้อจํากัด และปัจจัยต่างๆ กันของถนนในแต่ละท้องที่ ข้อพิจารณาอื่นๆ อาจจะประกอบด้วย

1.3.1 เหตุอันควรในการพิจารณาติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างลักษณะต่อเนื่อง

(1) ปริมาณจราจรของทั้งปีเฉลี่ยต่อวัน (AADT) ตั้งแต่ 5,000-15,000 คัน/วันขึ้นไป

(2) มีปริมาณคนเดินข้ามทางและข้างทางในเวลากลางคืนสูง

(3) มีความสับสนของการจราจร

(4) พื้นที่ใกล้เคียงมีแสงสว่างจ้ามาก รบกวนต่อการมองเห็น

1.3.2 เหตุอันควรในการพิจารณาติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างลักษณะเฉพาะบริเวณ

(1) มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในเวลากลางคืนต่อกลางวันเป็น 1.3 : 1

(2) เขตชุมชนหรือบริเวณที่มีคนใช้ข้างทางเวลากลางคืนสูง

(3) การจราจรสับสนในการเข้าช่องจราจรหรือเลี้ยวที่บริเวณทางแยก

(4) ทางแยกที่ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรอยู่แล้ว

(5) บริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางทันทีทันใด ระยะการมองเห็นไม่เพียงพอ

(6) ทางโค้งรัศมีแคบ หรือมีความลาดชันมาก

(7) สะพานที่โค้ง และทางแยกต่างระดับ

2. ไฟฟ้าสาธารณะ

ไฟฟ้าสาธารณะหมายถึง การติดตั้งโคมไฟฟ้าแสงสว่างระบบต่ำ 220 โวลต์ (1 เฟส) และ 380 – 400 โวลต์ (3 เฟส) บริเวณแนวถนนสายหลัก แนวสายรอง ทางแยก วงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร สะพาน สะพานลอยคนข้าม ทางเดินเท้า (ฟุตบาท) ทางม้าลาย สวนสาธารณะ ตลาด สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ สาธารณะ ลานกีฬาชุมชน ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง และป้ายจอดรถประจำทาง (ไม่มีศาลา)

     – ถนนสายหลัก หมายถึง ถนนสายหลักของท้องถิ่น เช่น ถนนที่ต่อเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดินถนนในเขตชุมชนหนาแน่น  เป็นต้น

     – ถนนสายรอง หมายถึง ถนนต่อแยกจากถนนสายหลัก

     – ทางแยก หมายถึง บริเวณที่ถนนสองเส้นหรือมากกว่ามาเชื่อมต่อกัน