MIE We Kind Spirit ณ มหาวิหารหอพระไตรปิฎกหินอ่อน (พุทธมณฑล สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)

เมื่อวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา บริษัท มัลติ อินโนเวชั่น เอนยิเนียริ่ง จำกัด ทุกวันเสาร์สิ้นเดือนของทุกเดือนจะมีกิจกรรมดีๆให้ชาว MIE
สำหรับเดือนกันยายน เสาร์นี้ ชาว MIE เปลี่ยนบรรายากาศ นัดรวมพลร่วมทำกิจกรรมดีๆ เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา พวกเราไปกันที่ มหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน (พุทธมณฑล สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)
ภายในอาคารเป็นสถานที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน จำนวน 1,418 แผ่น หรือ 84,000 พระธรรมขันธ์ พระไตรปิฎก หรือคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 3 ปิฎก คือ
1.พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และการดำเนินสังฆกิจต่างๆ ของพระภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์
2.พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยสูตรหรือพระธรรมเทศนาที่ตรัสแก่บุคคลต่างๆ เป็นคำสนทนาโต้ตอบบ้าง การบรรยายธรรมบ้าง หรือร้อยกรองบ้าง ร้อยแก้วบ้าง ร้อยแก้วผสมร้อยกรองบ้าง ตลอดถึงเทศนาของพระสาวกองค์สำคัญๆ บางรูป
3.พระอภิธรรมปิฎก ว่าถึงหลักธรรมต่างๆ ที่อธิบายด้านวิชาการล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคล หรือเหตุการณ์ส่วนมาก เป็นคำสอนด้านจิตวิทยา และอภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา
การจารึกพระไตรปิฎกลงบนหินอ่อน เกิดจากดำริของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ครั้งเมื่อดำรงตำแหน่งที่พระธรรมปัญญาบดี และคณะศิษยานุศิษย์
ตลอดวันมีพระอาจารย์วิทยากร สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มาบรรยายธรรมให้กับพวกเราชาว MIE
พระปลัดสุกฤษฏิ์ สิริจันทรากุล
พระอาทิตย์ สุริวงศ์

โดยฝากข้อคิดและให้หลักธรรมว่า ด้วย สัปปุริสธรรมทั้ง 7 ประการ ดังนี้

1. ธัมมัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักธรรม หรือ ความเป็นผู้รู้จักเหตุ) คือ การรู้จักเหตุ รู้จักธรรม รู้จักหลักความจริง รู้จักหลักเกณฑ์ กฎแห่งกรรม ในการใช้ชีวิตอย่างมีสติทั้งการทำงานและเลี้ยงชีพ ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

2. อัตถัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักอรรถ หรือความเป็นผู้รู้จักผล) คือ รู้จักเหตุ รู้จักผล ความมุ่งหมาย ประโยชน์ต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตและการทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

3. อัตตัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักตน) คือ รู้จักกับปัจจุบันของตนเอง มีสติ ใช้ปัญญาและความรู้อย่างถูกต้องในการทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

4. มัตตัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักประมาณ) คือ การรู้จักประมาณตน ในความพอดี ใช้ชีวิตให้ดีและมีความสุขตามความสมควร

5. กาลัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักกาล) คือ กาละเทศะ อันเหมาะสม ในการประกอบอาชีพการงาน ตั้งใจด้วยความรับผิดชอบให้ดีตรงเวลา ตามหน้าที่ ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

6. ปริสัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักบริษัทหรือชุมชน) คือ การรู้จักสังคม วางตัว ปฏิบัติตนให้ถูกต้องเหมาะสม วางตัวให้ถูกต้อง

7. ปุคคลัญญุตา หรือปุคคลปโรปรัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักบุคคล) คือ ทำความเข้าใจในความแตกต่างและหลากหลาย เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีกันในเพื่อนร่วมงาน ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

พระปลัด สุกฤษฏิ์ สิริจันทรากุล เเละ พระอาจารย์ อาทิตย์ สุริวงค์ ยังฝากให้พนักงานของเรา ยึดหลักการของปณิธานพุทธ และการใช้ชีวิตด้วย ความอดทน ความขยัน รู้จักประหยัด มีความซื่อสัตย์ทั้งตนเองและองค์กร มีความกตัญญูกตเวที เพราะความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี มีวินัย และทางไกลอบายมุข

หลังจากนั้น เป็นกิจกรรมที่ชาวMIE ได้ร่วมแรงร่วมใจ ปัดกวาดเช็ดถู ทำความสะอาดพื้นที่ของมหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน เป็นกิจกรรมที่สร้างความประทับใจให้กับพวกเราชาว MIE เป็นอย่างมาก เพราะได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เห็นความรักความสามัคคีของทุกคน และได้มีโอกาส
มาร่วมทำบุญด้วยกัน

โดยคุณ สาธิต สาตรพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร
บริษัท มัลติ อินโนเวชั่น เอนยิเนียริ่ง จำกัด
ได้กล่าว อวยพร อนุโมทนาบุญ กับพนักงานทุกท่าน ดังนี้

“วันนี้ @พุทธมณฑล พวกเราชาวMIE เปลี่ยนชีวิตจากสายอาชีพเทคโนโลยี มาเป็นสายธรรมะ
สะสมความดี สะสมบารมี สร้างคุณงามความดี ณ สถานที่แห่งนี้ คือ มหาวิหารพระไตรปิฎก สถานที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า 84,000 ขออนุโมทนาบุญ กับ พี่ๆน้องๆ ชาว MIE ทุกคน ที่ได้ร่วมกันมาทำความดี สร้างบารมีใส่ตน และที่ไม่ได้มา ติดภารกิจ ติดหน้าที่รับผิดชอบ ในวันนี้ ด้วยกันทุกคน ขอคุณงามความดีของพวกเราในวันนี้ จงแปรเปลี่ยน เป็นความสุข เป็นเงินทอง เป็นความก้าวหน้า ในชีวิตคิดสิ่งใดอยากได้สิ่งใด จงสำเร็จ ณ ปัจจุบันทันทีทันใดกันทุกคน”