เริ่มนับหนึ่ง สมาคม – กลุ่มธุรกิจไทย ร่วมลงนาม MOU พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกับบริษัท อินแปง กรุ๊ป จาก สปป.ลาว

เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ที่ทำการ สมาคมชาวเกษตรกรไทย จ.ปทุมธานี ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU (Memorandum of Understanding) ระหว่างสมาคม – กลุ่มธุรกิจจากประเทศไทย และ บริษัท อินแปง กรุ๊ป จำกัด โดยนาย แอ๊ด พันนิวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

โดยสมาคม – กลุ่มธุรกิจจากประเทศไทย ประกอบไปด้วย 8 องค์กรดังนี้

1.สมาคมชาวเกษตรกรไทย
2.สมาคมอากาศยานเพื่อการทดลองไทย
3.เครือข่ายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากชุมชน
4.บริษัท โมดินิ จำกัด
5.บริษัท พี แอนด์ เค ออร์กาไนซ์ จำกัด
6.บริษัท เอส เอส กลาสเซร่า จำกัด
7.บริษัท เอส ที คอลโทรล จำกัด
8.บริษัท มัลติ อินโนเวชั่น เอนยิเนียริ่ง จำกัด

หลักการความร่วมมือ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยกลุ่มบริษัท อินแปง กรุ๊ป จำกัด ได้ดำเนินการแสวงหาความร่วมมือในการลงทุนพัฒนาโครงการสัมปทานของรัฐผ่านกลุ่มธุรกิจที่มีความสนใจในการลงทุนกิจการในประเทศลาว ตามคำแนะนำของประธานที่ปรึกษาโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่การคมนาคมทางอากาศให้มีคุณภาพมีความสามารถในการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศและประชาชน
ตลอดจนแสวงหาแนวทางในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสังคมในทุกด้านจากการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาโครงการที่เป็นประโยชน์ในระยะยาวอย่างยั่งยืน จึงมีการร่วมมือกันขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรมและโปร่งใสเป็นธรรม

วัตถุประสงค์ความร่วมมือ
ร่วมกันสำรวจศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกำหนดแผนภาพรวมการพัฒนาพื้นที่ และ ผลักดันความร่วมมือให้บรรลุเป้าหมาย
ร่วมกันพัฒนาโครงสร้างสาธารนูปโภคพื้นฐานที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพ และโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล และการพัฒนานวัตกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
ส่งเสริมการพัฒนาและการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทั้งการจัดหาทุนสนับสนุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมระยะเร่งด่วน และการลงทุนในอุตสาหกรรมระยะยาว
ร่วมกันพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ และวางแผนยุทธศาสตร์การบริหารพื้นที่ และการพัฒนาระบบผังเมืองที่ทันสมัย รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่
การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและชุมชนที่ครอบคลุมไปถึงการศึกษา การสาธารณสุข คุณภาพสิ่งแวดล้อม ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และการพัฒนาชุมชนให้มีความมั่นคงปลอดภัย
ขอบเขตและแนวทางความร่วมมือจาก ทั้ง 2 ฝ่ายตามความสามารถและศักยภาพแบ่งได้ตามหลักการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Smart City 7 ด้านด้วยกัน มีดังนี้

1.Smart Environment
ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูสภาพธรรมชาติ การสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์เพื่อการอนุรักษ์และเศรษฐกิจ การพัฒนาแหล่งกักเก็บคาร์บอน การพัฒนากลไกหมุนเวียนทรัพยากรขยะ การพัฒนาทรัพยากรน้ำและดิน รวมถึงการพัฒนาการอาศัยอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนกับป่าไม้
2.Smart Living
ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน การสาธารณสุข ความมั่นคงปลอดภัยในสวัสดิภาพชีวิต และสวัสดิการสังคม
3.Smart People
ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาศักยภาพพลเมือง ทักษะความสามารถ การศึกษา การประกอบวิชาชีพที่มีศักยภาพในการแข่งขันภาคแรงงาน และสวัสดิการแรงงาน

4.Smart Governance
ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาบริการพื้นฐานของรัฐ การบริหารจัดการภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาล และการกำกับกิจการของรัฐ

5.Smart Economy
ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจพื้นฐาน การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจการเงิน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการแพทย์

6.Smart Mobility
ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการคมาคมขนส่ง ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ระบบขนส่งมวลชนและสินค้า เทคโนโลยียานยนต์และเครื่องจักรกลอัจฉริยะ อุปกรณ์สื่อสารและควบคุมระยะไกล

7.Smart Energy
ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพลังงานยั่งยืนเพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาพลังงานสะอาดแบบหมุนเวียน รวมถึงเทคโนโลยีพลังงานในครัวเรือนและเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน

การลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ในครั้งนี้มีผลผูกพันระยะเวลา 1 ปี คลอบคลุมตามวัตถุประสงค์ที่ทุกฝ่ายตกลงให้มีผลความร่วมมือ

นาย แอ๊ด พันนิวงศ์
ประธานกรรมการบริหาร
บริษัท อินแปง กรุ๊ป จำกัด